สำนักบริหารและจัดการเลขหมายโทรคมนาคม
Telecommunication Numbering Management Bureau
คำถามที่พบบ่อย
การลงทะเบียนซิมการ์ดใหม่ด้วยวิธี 2 แชะ อัตลักษณ์
แอปพลิเคชั่น 2 แชะ อัตลักษณ์ สามารถลงทะเบียนได้ด้วยตนเองหรือไม่?
แอปพลิเคชั่น 2 แชะ อัตลักษณ์ มีไว้สำหรับศูนย์ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ลูกตู้ และตัวแทนจำหน่ายเท่านั้นเพื่อใช้ในการลงทะเบียนเปิดเบอร์โทรศัพท์มือถือใหม่ โดยการตรวจสอบอัตลักษณ์ของผู้ซื้อซิมการ์ด “ก่อน” การลงทะเบียนและเปิดใช้งาน ทั้งแบบระบบเติมเงินและระบบรายเดือน
 

ถ้าเคยลงทะเบียนซิมไปแล้วต้องไปลงใหม่หรือไม่?
2 แชะ อัตลักษณ์ ใช้สำหรับผู้เปิดใช้[งานซิมการ์ดใหม่เท่านั้น 
 

การลงทะเบียน 2 แชะ อัตลักษณ์ ต้องเสียค่าบริการหรือไม่?
2 แชะ อัตลักษณ์ ลงทะเบียน “ฟรี” ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการบริการ
 

ข้อมูลที่ใช้ในการลงทะเบียนจะถูกจัดเก็บอย่างไร ปลอดภัยหรือไม่?
ข้อมูลของผู้ซื้อซิมการ์ดจะได้รับการดูแลอย่างปลอดภัย ระบบจะทำการลงทะเบียนโดยส่งข้อมูลตรงไปที่ศูนย์ฐานข้อมูลของผู้ให้บริการค่ายมือถือทันที ไม่มีการจัดเก็บข้อมูลลายนิ้วมือหรือข้อมูลส่วนบุคคลไว้ที่จุดให้บริการ
 

ระบบรักษาสิทธิการใช้เลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ “3 ชั้น”
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น 3 ชั้นมาแล้ว จะสามารถเปิดใช้งานอย่างไร?
หลังจากดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นมาแล้ว ผู้ใช้บริการต้องติดต่อเปิดใช้งานแอปพลิเคชั่นที่ศูนย์บริการค่ายมือถือในครั้งแรกก่อน โดยนำบัตรประชาชนฉบับจริงไปลงทะเบียนเพื่อยืนยันตัวตนว่าเป็นเจ้าของบัตรตัวจริง
 

กรณีที่มีเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่หลายเบอร์และต่างค่ายมือถือ จะต้องทำอย่าง
ในกรณีที่มีเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่หลายเบอร์และหลายค่าย หลังจากดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นแล้ว ให้ติดต่อค่ายมือถือที่เป็นเบอร์หลักของท่านเพื่อทำการเปิดใช้งานแอปพลิเคชั่น
 

หากใช้งานแอปพลิเคชั่นแล้ว ตรวจสอบพบเบอร์แปลกปลอม หรือ เบอร์ที่ขาดหาย ต้องดำเนินการอย่างไร?
ให้ดำเนินการผ่านแอปพลิเคชั่น โดยการกดแจ้งเบอร์แปลกปลอมหรือเบอร์ที่ขาดหาย ในหน้าต่างแสดงเลขหมายของผู้ให้บริการแต่ละราย ระบบจะทำการส่งคำขอไปยังผู้ให้บริการรายนั้นๆ หลังจากนั้นให้ผู้ใช้บริการไปทำการยืนยันคำขอด้วยตนเองที่ศูนย์ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้นๆ เพื่อทำการยกเลิกเบอร์แปลกปลอมออกจากระบบ หรือ เพิ่มเบอร์ที่ขาดหาย
 

คุณสมบัติของฟังก์ชัน “ล๊อค” มีความสำคัญอย่างไร?
ฟังก์ชัน “ล๊อค” สามารถให้ท่านควบคุมการเปิดใช้เลขหมายได้ด้วยตนเอง ป้องกันการเปิดใช้เลขหมายใหม่โดยบุคคลอื่น สถานะ “ล็อค” แสดงว่าบัตรประชาชนของท่านไม่สามารถเปิดเบอร์ใหม่ได้ หากท่านต้องการเปิดเบอร์ใหม่ ให้กดที่ “ต้องการปลดล็อค”และเมื่อท่านดำเนินการเปิดเบอร์ใหม่เรียบร้อยแล้ว ให้ท่านกด “ล็อค” อีกครั้ง
 

การประมูลเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เป็นเลขหมายสวย
เอกสารสำคัญที่จำเป็นต้องนำมาในวันประมูลมีอะไรบ้าง
1. บัตรประชาชนฉบับจริง
2. สมุดบัญชีธนาคารหน้าแรกฉบับสำเนา

บุคคลอื่นมาประมูลแทนได้หรือไม่?
ได้ โดยนำหนังสือมอบอำนาจที่ติดอากรแสตมป์มายื่นพร้อมสำเนาบัตรประชาชน
 

ผู้ที่ไม่ชนะการประมูลสามารถรับหลักประกันคืนได้ภายในกี่วัน?
ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่สำนักงาน กสทช. ได้รับแจ้งความจำนง ทั้งนี้หากผู้ไม่ชนะการประมูลไม่ติดต่อขอรับหลักประกันการประมูลคืนภายใน 180 วัน นับแต่วันที่สำนักงาน กสทช. รับรองผลการประมูลครั้งนั้น ให้ถือว่าผู้ที่ไม่ชนะการประมูลแสดงเจตนาสละสิทธิ์ในการรับหลักประกันการประมูลคืน
 

เอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการยื่นขอรับหลักประกันคืน?
1. สำเนาสมุดบัญชี
2. ใบสำคัญแสดงความจำนงขอคืนหลักประกันการประมูลเลขหมายสวยฯ
 

ผู้ชนะการประมูลต้องชำระเงินประมูลเลขหมายสวยภายในกี่วัน?
ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่สำนักงาน กสทช. รับรองผลการประมูล
 

เปิดใช้งานเลขหมายสวยได้อย่างไร?
นำซิมการ์ดและหนังสือรับรองผู้ชนะการประมูลเลขหมายสวย ไปยื่นที่ศูนย์บริการเครือข่ายที่กำหนด
 

ผู้ชนะประมูลต้องไปติดต่อลงทะเบียนเปิดใช้งานเลขหมายภายในกี่วัน?
ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ผู้ชนะการประมูลดำเนินการชำระเงินประมูลครบถ้วนแล้ว
 

ผู้ชนะการประมูลสามารถโอนย้ายเลขหมายสวยไปยังผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายอื่นได้หรือไม่?
สามารถโอนย้ายได้ โดย กด *151*เลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่#โทรออก แล้วติดต่อศูนย์บริการของผู้ให้บริการที่ประสงค์จะโอนย้าย
 

บุคคลอื่นสามารถมารับเลขหมายสวยที่ชนะการประมูลแทนได้หรือไม่?
ได้ โดยเขียนหนังสือมอบอำนาจ ลงลายมือชื่อรับรองและติดอากรแสตมป์ให้เรียบร้อย มายื่นพร้อมกับสำเนาบัตรประชาชนของผู้ชนะการประมูลเลขหมายสวยดังกล่าวพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ 
 

หากผู้ชนะการประมูลไม่มาชำระเงินประมูลให้ครบถ้วน?
สำนักงาน กสทช. จะถือว่าผู้ชนะประมูลเลขหมายสวยสละสิทธิ์ในเลขหมายนั้น และจะริบเงินหลักประกันการประมูลเลขหมายที่สละสิทธิ์ โดยสำนักงาน กสทช. จะมีหนังสือแจ้งการสละสิทธิ์ให้ผู้สละสิทธิ์รับทราบ อีกทั้งในกรณีที่สำนักงาน กสทช. ได้นำเลขหมายดังกล่าวออกมาประมูลใหม่อีกครั้ง ผู้สละสิทธิ์จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนต่างที่เกิดขึ้น
 

เลขหมายโทรศัพท์แบบสั้น 3 หลัก 4 หลัก
ค่าธรรมเนียมสำหรับการขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรศัพท์แบบสั้น 4 หลัก ที่ผู้ขอรับการจัดสรรจะต้องชำระมีอะไรบ้าง?
ค่าธรรมเนียมสำหรับการขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรศัพท์แบบสั้น 4 หลัก ประกอบด้วย ดังนี้
  • ค่าธรรมเนียมการพิจารณาคำขอ ราคา 5,350.- บาท (รวม VAT 7%) ชำระ ณ วันที่ยื่นคำขอรับการจัดสรร
  • ค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรศัพท์แบบสั้น 4 หลัก ราคา 10,700.- บาท/เดือน โดยจะต้องชำระเป็นรายปี ปีละ 128,400 บาท (รอบการชำระคือ เดือนมกราคม ถึง เดือนธันวาคม ของปีนั้นๆ)

หน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานภาคเอกชน จะต้องยื่นเอกสารการขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรศัพท์แบบสั้นตามแบบรายการใดของประกาศ กสทช.?
  • หน่วยงานภาครัฐหรือนิติบุคคลที่ไม่แสวงหากำไร จะต้องยื่นคำขอรับการจัดสรรเลขหมายฯ ตามแบบรายการ ข้อ ก-5-1 ของประกาศ กสทช. (กรณีหน่วยงานภาครัฐ ก่อนจะยื่นขอรับการจัดสรรเลขหมายฯ กับสำนักงาน กสทช. จะต้องได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ก่อน)
  • หน่วยงานภาคเอกชน (นิติบุคคลที่แสวงหากำไร) จะต้องยื่นคำขอรับการจัดสรรเลขหมายฯ ตามแบบรายการ ข้อ ก-5-2 ของประกาศ กสทช.

เลขหมายโทรศัพท์แบบสั้น 4 หลัก สามารถเลือกได้หรือไม่?
เลขหมายโทรศัพท์แบบสั้น 4 หลัก ไม่สามารถเลือกเลขหมายได้ โดยคณะกรรมการจะจัดสรรเลขหมายให้ตามลำดับความครบถ้วนของข้อมูลของหน่วยงานที่ขอรับการจัดสรร
 

กรณีผู้ขอรับการจัดสรรจะนำเลขหมายโทรศัพท์แบบสั้น 4 หลัก ที่ได้รับการจัดสรรไปให้บริษัทในเครือหรือหน่วยงานอื่นใช้ร่วม ได้หรือไม่?
การใช้งานเลขหมายโทรศัพท์แบบสั้น 4 หลัก ร่วมกันนั้น จะต้องได้รับการอนุญาตจากคณะกรรมการก่อน
 

การพิจารณาการขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรศัพท์แบบสั้น 4 หลัก ใช้ระยะเวลาเท่าใด?
การพิจารณาการขอรับการจัดสรรเลขหมายโทรศัพท์แบบสั้น 4 หลัก มีระยะเวลา 45 วัน นับจากเอกสารหลักฐานในการยื่นขอรับการจัดสรรเลขหมายฯ ครบถ้วน
 

การย้ายค่ายเบอร์เดิม